การเล่น”ไม่แบ่งเพศ”

“การเล่นไม่แบ่งเพศ” ความคิดที่ว่า “เด็กผู้ชายเล่นหุ่นยนต์” “เด็กผู้เล่นหญิงเล่นตุ๊กตา” เป็นเพียงมายาคติ เด็กควรได้รับโอกาสในการเลือกเล่นตามสิ่งที่เขาต้องการโดย “ไม่จำกัดเพศ”

ผลสำรวจเผยว่าเด็กรับรู้เพศสภาพของตัวเองรับรู้เพศสภาพของตัวเองว่าเป็นชายหรือหญิงตั้งแต่ 2 ขวบแรกของชีวิต เมื่อเข้ารู้เพศสภาพของตัวเอง สิ่งที่อาจจะตามมาคืออคติระหว่างเพศ (Gender Bias) ที่ก่อขึ้นโดยสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อน พี่เลี้ยง ที่มีมายาคติเรื่องเพศอยู่ก่อนแล้ว
.
“การเล่น” ถือเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่ามีมายาคติเรื่องเพศปะปนอยู่เพราะเวลาที่เด็กได้เล่น เขาจะพัฒนาและเรียนรู้ทักษะอารมณ์และสังคม (Social-Emotional Learning) ผ่านการที่เด็กได้สำรวจ (Explore) ความเข้าใจและทัศนคติเรื่องเพศผ่านเพื่อนที่เล่นด้วยกันเอง อย่างไรก็ตามมายาคติ (Bias) เรื่องเพศในการเล่นของเด็กยังจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและตระหนักของสังคมอย่างมาก
.
ในไทยมีผลสำรวจจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในปี 2018 พบว่า เด็กผู้ชายเล่นมากกว่าเด็กผู้หญิงเกือบ 2 เท่า
.
แล้วทำไมเด็กผู้หญิงเล่นน้อยกว่าเด็กผู้ชาย?
.
เหตุผลอาจจะมาจากมายาคติของผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพ่อเเม่หรือคุณครูที่มีความคิดว่า เด็กผู้หญิงต้องเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ ไม่ควรออกไปวิ่งเล่นให้เหงื่อออก สกปรกมอมเเมม ตรงกันข้ามกับเด็กผู้ชายที่เล่นอะไรก็ได้ หรือวิชาพละที่บางทีเด็กผู้หญิงเองไม่ได้ให้ความสำคัญ เพราะคิดว่าไม่ควรวิ่งเล่นให้เหงื่อออก หรือมองว่าดูไม่เรียบร้อยนั่นเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับเด็กผู้ชายที่การเล่นหรือออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดูดี ดูเท่
.
ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจที่เผยว่าเด็กผู้หญิงไทย อายุ 6-17 ปีที่เล่นหรือทำกิจกรรมทางกายอย่างต่ำ 60 นาที/วัน ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ มีเพียงเเค่ 16.3% เท่านั้น ส่วนเด็กผู้ชายอยู่ที่ 34.9% ซึ่งต่างกันเกือบ 2 เท่า!
.
ดังนั้นบทบาทของผู้สนับสนุนการเล่นหรือ Play Worker จึงมีส่วนสำคัญต่อการเล่นและความเข้าใจเรื่องเพศของเด็ก เพื่อที่เราจะสร้างโลกการเล่นที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ
.
สิ่งที่พ่อเเม่สามารถสนับสนุนลูกในการเล่นคือการเปิดโอกาสให้ลูกได้ก้าวข้ามกำแพงเรื่องเพศ (Crossing Gender Boundaries) โดยไม่การกำหนดแบบแผนการเล่น (Stereotypical Play) ที่ชัดเจนว่าเด็กผู้ชายควรเล่นแบบนี้ เด็กผู้หญิงควรเล่นแบบนี้ เด็กผู้หญิงไม่ควรเล่นแบบเด็กผู้ชาย เป็นต้น พ่อแม่ควรที่จะสนับสนุนการเล่นที่ไม่เป็นแบบแผน (Non-Stereotypical Play) คือการเปิดโอกาสให้ลูกเข้าถึงของเล่น พื้นที่เล่นและรูปแบบการเล่นต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมทั้งกับเด็กผู้ชาย ผู้หญิง และเพศอื่นทางเลือกอื่น ๆ และควรจะลองให้เด็กเล่นในกิจกรรมของเพศตรงข้ามมากขึ้น (Opposite-Sex Activities) นั่นเอง
.
.
อ้างอิง
.
.
https://www.childrensresearchnetwork.org/knowledge/resources/the-educators-role-in-supporting-non-gendered-play-in-early-childhood-education-settings

ทำโดย : Leeway การเรียนรู้ผ่านการเล่น

leeway #play #parent #parentswaysoflearning #30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข #พากันเล่นที่ไหน #พากันเล่นอะไร #พากันเล่น(กับใคร) #พากันเล่นทำไม


Your email address will not be published. Required fields are marked *

By using this form you agree with the storage and handling of your data by this website.