Category: บทความ

พ่อแม่สนับสนุนให้ลูกได้ “เล่น” คือการลงทุนที่คุ้มค่าและสำคัญที่สุด!

พ่อแม่สนับสนุนให้ลูกได้ “เล่น” คือการลงทุนที่คุ้มค่าและสำคัญที่สุด!.คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินหรือศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการลงทุนในการศึกษาปฐมวัย (0-5 ปี) ที่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสำคัญที่สุดทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของเด็กที่จะเติบโตขึ้นมาในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงคำว่า “ลงทุน” คุณพ่อคุณแม่อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าในฐานะผู้ปกครอง เราสามารถสนับสนุนหรือ “ลงทุน” กับลูกของเราอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร.ในงานวิจัย Invest in Early Childhood Development: Reduce Deficits, Strengthen the Economy ของศาสตราจารย์...

เด็กทุกคนที่สิทธิพื้นฐานที่จะ “เล่น”

เด็กทุกคนที่สิทธิพื้นฐานที่จะ “เล่น”.ทำไมหัวข้อที่ 31 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กสหประชาชาติ ถึงสำคัญต่อเด็กทุกคนอย่างมาก?.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กสหประชาชาติ (United Nations Convention on the Rights of the Child) ที่ลงนามในปี 1989 เป็นข้อตกลงสำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมกันเพื่อให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความคุ้มครองสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอธิบาย คำจำกัดความของคำว่าเด็ก สิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐ สิทธิทั้งหมดมีความเชื่อมโยง และมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ไม่สามารถลิดรอนไปจากเด็กได้ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ร่วมลงนามยืนยันในอนุสัญญาฉบับนี้เช่นเดียวกัน.หนึ่งในหัวข้อสำคัญในอนุสัญญาคือหัวข้อที่...

ผู้สนับสนุนการเล่น (Playworker) คืออะไรและมีบทบาทอย่างไรต่อการเล่นของเด็ก?

ผู้สนับสนุนการเล่น (Playworker) คืออะไรและมีบทบาทอย่างไรต่อการเล่นของเด็ก?.หลายบทความที่ผ่านมา Leeway ได้พูดถึง “การเล่น” ในบทบาทของแนวทางเรียนรู้ที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก) หรือแม้กระทั่ง การลงทุนในการเล่นในเด็กปฐมวัยที่พบว่าส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเล่นที่มีคุณภาพ (Quality Play) จะไม่เกิดขึ้นหากไม่มี “ผู้สนับสนุนการเล่น” หรือ “Playworker”.Playworker คือใคร? มีหน้าที่บทบาทในการสนับสนุนการเล่นของเด็ก ๆ อย่างไร?.อ้างอิงจาก “คู่มือ Playworker” ที่จัดทำโดยกรมอนามัย ฯ...

“It takes a village to raise a child – เราใช้คนทั้งหมู่บ้านในการเลี้ยงดูเด็ก”

แค่เพียง “พ่อเเม่” ไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนการเล่นของเด็กคนหนึ่ง แต่ต้องเราใช้คนทั้งหมู่บ้านในการเลี้ยงดูเด็ก.“It takes a village to raise a child – เราใช้คนทั้งหมู่บ้านในการเลี้ยงดูเด็ก”.ประโยคนี้คือสุภาษิตจากหนังสือ “It Takes a Village” ของ Hillary Clinton อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความหมายว่า การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสติปัญญา ไม่ใช่แค่อาศัยเพียงครอบครัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เเต่เพื่อนบ้าน...

‘การเล่น’ และ บันได 7 ขั้นสู่ศตวรรษที่ 21

‘การเล่น’ และ บันได 7 ขั้นสู่ศตวรรษที่ 21.บันได 7 ขั้นสู่ศตวรรษที่ 21 คืออะไร?.บันได 7 ขั้นสู่ศตวรรษที่ 21 คือแนววคิดของ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่กล่าวว่าการเลี้ยงลูกให้มี Executive Function หรือ EF นั้น เด็กควรที่จะได้รับการดูแลจากคุณพ่อคุณแม่ตามบันได 7 ขั้น...

ทำไมอาหาร โภชนาการ (Nutrition) สำคัญอย่างยิ่งต่อ “การเล่น” และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย?

ทำไมอาหาร โภชนาการ (Nutrition) สำคัญอย่างยิ่งต่อ “การเล่น” และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย?.คุณพ่อคุณแม่คงเข้าใจดีว่าการเลือกอาหารให้ลูก ๆ ของเราในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูก รสชาติและหลักโภชนาการ.เนื่องจากปฐมวัยคือวัยที่เด็กมีพัฒนาการทางร่างกาย และสมองที่รวดเร็วและสำคัญที่สุด เรียกได้ว่าเป็น Critical Period ของพัฒนาการมนุษย์เลยก็ว่าได้ ดังนั้นโภชนาการจึงเป็นส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของลูกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ “การเล่น”.การเล่นที่มีคุณภาพคือการเล่นที่เด็กมีอิสระในการทำสิ่งที่เขาอยากทำ เล่นในสิ่งที่เขาอยากเล่น อิสระเหล่านี้ก็ต้องแลกด้วยพลังงาน ซึ่งแน่นอนพลังงานสร้างมาจากอาหารและโภชนาการ (Nutrition) ที่เด็ก ๆ ได้รับในแต่ละวันนั่นเอง.ถ้าเราเปรียบการเล่นก็เหมือนเครื่องยนต์ที่เป็นกลไก...

การเล่นอิสระ (Free Play) และ การเล่นแบบมีแบบแผน (Structured Play) ต่างกันอย่างไร

การเล่นอิสระ (Free Play) และ การเล่นแบบมีแบบแผน (Structured Play) ต่างกันอย่างไร?.พ่อเเม่ทุกท่านคงรู้ดีว่าการเล่นนั้นสำคัญไม่เเพ้การเรียนในห้องเรียน เผลอๆ สำคัญกว่าด้วยซ้ำ เพราะการเล่นช่วยพัฒนาทักษะทางสมองเเละอารมณ์ เพราะการเล่นเปิดโอกาสให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย) ได้สำรวจ สังเกต เเละทดลอง ลงมือทำ ซึ่งในระหว่างที่ลูกของคุณเล่นนั้นเขาจะเรียนรู้ทักษะการเเก้ไขปัญหา การตัดสินใจเเละความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัด ดังนั้นการเล่นคืองานของเด็ก เเละเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำในทุกๆ วัน.อย่างไรก็ตามการเล่นในเด็กเล็ดมีรูปเเบบเที่เเตกต่างกันกันออกไป เเต่สามารถเเบ่งเป็น 2 เเบบหลักๆ...

พลังของการเล่นบทบาทสมมติ

พลังของการเล่นบทบาทสมมติ (Pretend Play) ในเด็กเล็ก.พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องซื้อของเล่นราคาแพงให้ลูกเล่น เพราะสุดท้ายแล้วตัวเด็กจะเรียนรู้ทักษะที่ดีที่สุดผ่านการเล่นบทบาทสมมติที่เขาเป็นคนเลือกที่จะเล่นเอง.การเล่นบทบาทสมมติ หรือ Pretend play คือการเล่นที่เด็กจะได้สำรวจความรู้สึกภายในของตัวเองและเพื่อที่จะเรียนรู้และเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัว.ถึงแม้จะเรียกว่าการเล่น “สมมติ (Pretend)” แต่สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้นั้นเป็น “ความจริง (Real)” แน่นอน! มาดู 4 เหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และคุณครู ควรสนับสนันให้ลูกเล่นสมมติกัน. การเล่นสมมติคือการจำลองประสบการณ์ชีวิตของเด็ก (Great practice for...

การเล่นกลางแจ้งส่งผลดีต่อร่างกาย และอารมณ์ของเด็ก

🌈Mar Sanchez ผู้จัดการด้านการฝึกอบรม เครือข่ายการเล่นอิสระ ( Smart Play Network) สก๊อตแลนด์ได้ให้ข้อสังเกตถึงบทบาทของผู้ใหญ่ในสิ่งแวดล้อมการเล่นลูสพาร์ท ไว้ว่า. “การเล่นกลางแจ้ง ส่งผลดีต่อร่างกายและอารมณ์ จิตใจของทั้งครูและเด็ก เราสังเกตพบว่าการเล่นแบบอิสระช่วยให้ครูได้มองเห็นเด็กๆในแง่มุมที่ไม่เคยเห็นและทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนแน่นแฟ้นขึ้น ครูต้องมีกรอบวิธีคิดของการเป็น ผู้ดูแลการเล่น พวกเขาจะต้องเรียนรู้ที่จะก้าวถอยออกมาห่างๆและเข้าไปแทรกแซงก็ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น ต้องรู้จักสังเกตและรู้ว่าควรปฏิสัมพันธ์อย่างไรต่อพฤติกรรมหรือแจงจูงใจของเด็กในระหว่างเล่น รู้วิธีการที่จะสร้างความท้าทายและการมีส่วนร่วมของเด็กกับพื้นที่เล่นนั้น”. สำหรับผู้ใหญ่ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเล่นลูสพาร์ท ต้องมีความละเอียดอ่อนและต้องตระหนักถึงกระบวนการเล่นของเด็ก ให้อิสระ ไม่เร่งเร้า หรือก้าวเข้าไปแทรกแซงบ่อยๆ...

ทำไม “การเล่น” ถึงเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้ดีที่สุด?

ตั้งเเต่ลูกลืมตาดูโลก คนเเรกที่ลูกเห็นคือ “พ่อแม่” หรือแม้กระทั่งคนแรกที่ลูกได้เล่น ได้หัวเราะ ได้ร้องไห้ และอยู่กับลูกตลอดเวลาเมื่อลูกต้องการก็คือ “พ่อแม่” นั่นเอง ดังนั้นจึงไม่เเปลกที่ “การเล่น” เป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้เป็นอย่างดี และทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านทักษะ สุขภาวะ (Well-being) ที่สมบูรณ์ รวมถึงทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพราะเขาจะรู้สึกปลอดภัยเวลาเล่นร่วมกันกับพ่อแม่ . ล่าสุดทาง Lego Foundation ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ...