Peter Gray นักวิจัยและอาจารย์สาขาจิตวิทยาแห่ง Boston College ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “Free to Learn” ว่า “การที่เราให้เด็กวัยเดียวกันมาเล่นด้วยกันถือเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติของเด็ก”.ในอดีตการเล่นร่วมกันระหว่างเด็กเล็กและเด็กโตถือเป็นเรื่องปกติ เพราะธรรมชาติของเด็กคือการเล่นที่ไม่เเบ่งเเยกชนชั้น สังคม รวมถึงอายุ เด็กเพียงเเค่ต้องการเคลื่อนไหวร่างกาย และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ เท่านั้น จนกระทั่งยุคอุตสาหกรรมที่เด็กต้องเข้าเรียนในโรงเรียนจึงมีการแบ่งระดับชั้น (เช่น ระดับประถม มัธยม ฯลฯ เหมือนในปัจจุบัน) ทำให้สังคมการเล่นของเด็กเปลี่ยนจากการเรียตามธรรมชาติไม่เเบ่งอายุเป็นการเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน ระดับชั้นเดียวกันนั่นเอง.จากงานวิจัยด้านจิตวิทยาและพัฒนาการพบว่าประโยชน์ของการเล่นร่วมกันของเด็กที่มีวัยต่างกันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มากและมีประสิทธิภาพกว่าการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน...
“ทำไมลูกเรา Active มาก เล่นไม่มีหมดจริง ๆ” “เราควรให้ลูกเล่นเท่าไหร่ถึงจะพอ?”.ประโยคเหล่านี้เป็นน่าจะสิ่งที่คุณพ่อคุณเม่หลายท่านสงสัยและเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้วการเล่นจำเป็นต่อลูกของเราจริง ๆ หรือ? เเล้วเราควรจะเริ่มสนับสนุนการเล่นลูกอย่างไรดี?.ก่อนอื่นอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านเข้าใจว่า การเล่นไม่ใช่เรื่องพิเศษหรือเป็นสิ่งที่มาเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เเต่ “การเล่น” คือ “ธรรมชาติ” ของเด็ก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลาในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น หลักสูตรการเรียนการสอน การเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ พื้นที่เล่นที่จำกัด และความปลอดภัยในระหว่างเล่นของเด็ก ทำให้เวลาที่เด็กได้เล่นน้อยลง...
ของเหลือใช้ ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัยอย่างอิสระ พ่อแม่สามารถพาลูกเล่นกับกล่องลังที่มีในบ้านได้ โดยใช้กล่องเล็ก ใหญ่ ขนาดหลากหลาย ชวนลูกประดิษฐ์ของเล่น จะทำเป็นทำหุ่นยนต์ สร้างอุโมงค์ บ้าน ปราสาท ประดิษฐ์อุปกรณ์ต่อสู้เป็นผู้พิทักษ์ โดยให้เด็กได้คิดเอง ออกแบบเองและประดิษฐ์เองด้วย การเล่นกับกล่อง ของที่เหลือใช้และของที่เรามีในบ้าน ไม่ต้องเสียงเงินในการซื้อ แต่มีประโยชน์มหาศาล ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัยอย่างอิสระ และเป็นการปลูกฝังให้เด็กเห็นคุณค่าในสิ่งที่มีอยู่ รอบตัว เห็นคุณค่าของขยะ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ดี การให้เด็กเล่นแบบนี้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตเด็กจะมีกระบวนการคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่ามากที่สุดได้ ...
สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเวลาทำงานการจัดมุมเล่นในบ้านช่วยได้ เด็กทุกคนเวลาเล่นสิ่งที่ตนเองชอบ จะใช้เวลากับการจดจ่อ สร้างจินตนาการเรื่องราวของตัวเองเชื่อมโยงของเล่นและสิ่งรอบตัว การ “สังเกต” ว่าลูกชอบเล่นอะไรและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่นจึงสำคัญจึงสำคัญ หรือเพื่อผู้ปกครองจะได้จัดมุมเล่นให้ดึงดูดและกระตุ้นจินตนาการ จากประสบการณ์การทำงานพบว่า มุมเล่นที่ทำให้เด็กนิ่งอยู่กับจิตนาการของตนเองได้เป็นเวลา 1-3 ชั่วโมง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก “ตัวอย่างมุมเล่น“ “เริ่มต้นอย่างไร” #30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข #พากันเล่นอะไร #เล่นเปลี่ยนโลก #เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก #letsplaymore...
1.เปิดใจให้โอกาส ให้เวลา : เข้าใจธรรมชาติเด็กทุกคนต้องการเล่น “ เล่นอิสระ ก็คือการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ ” 2.สร้างบรรยากาศ อบอุ่น น่าเล่น : จัดหาของเล่นที่หลากหลายปลายเปิด วัสดุ อุปกรณ์ ของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูก จัดมุมเล่นในบ้าน พัฒนาสิ่งแวดล้อมในบ้านให้น่าเล่น พาไปเที่ยวเล่นเรียนรู้ในที่ต่างๆ 3.สังเกต เล่นด้วยกันเมื่อเด็กต้องการ อยู่เคียงข้างเสมอ : ...
การเล่นกับชิ้นส่วนที่หลากหลาย หรือ Loose Parts เป็นการเล่นปลายเปิด เด็กสามารถจินตนาการเชื่อมโยงอย่างไร้ขอบเขตในแบบเฉพาะเด็กเอง ค้นพบสิ่งใหม่ เกิดประสบการณ์ใหม่ ที่มีความเฉพาะของแต่ละคนอย่างอิสระ ทำให้เด็กค้นพบตัวเอง เห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว ตัวอย่างของ Loose parts : น้ำ ทราย ดิน กิ่งไม้ ใบไม้ ดอกไม้ ใบตอง ท่อนไม้ ขอนไม้ ผลไม้ เมล็ดพันธุ์...
เพราะการเล่นอิสระเกิดจากความต้องการภายในของเด็ก ได้ออกแบบ กฎ กติกา หรือรูปแบบ และขอบเขตการเล่นด้วยตัวเอง เล่นอิสระกับอะไรได้บ้าง ? เล่นอิสระแล้วเด็กจะได้รับประโยชน์อย่างไร ? #เล่นเปลี่ยนโลก #เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก #letsplaymore #30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข #พากันเล่นทำไม...