Category: คลังความรู้

พลังของการเล่นบทบาทสมมติ

พลังของการเล่นบทบาทสมมติ (Pretend Play) ในเด็กเล็ก.พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องซื้อของเล่นราคาแพงให้ลูกเล่น เพราะสุดท้ายแล้วตัวเด็กจะเรียนรู้ทักษะที่ดีที่สุดผ่านการเล่นบทบาทสมมติที่เขาเป็นคนเลือกที่จะเล่นเอง.การเล่นบทบาทสมมติ หรือ Pretend play คือการเล่นที่เด็กจะได้สำรวจความรู้สึกภายในของตัวเองและเพื่อที่จะเรียนรู้และเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัว.ถึงแม้จะเรียกว่าการเล่น “สมมติ (Pretend)” แต่สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้นั้นเป็น “ความจริง (Real)” แน่นอน! มาดู 4 เหตุผลว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และคุณครู ควรสนับสนันให้ลูกเล่นสมมติกัน. การเล่นสมมติคือการจำลองประสบการณ์ชีวิตของเด็ก (Great practice for...

การเล่นกลางแจ้งส่งผลดีต่อร่างกาย และอารมณ์ของเด็ก

🌈Mar Sanchez ผู้จัดการด้านการฝึกอบรม เครือข่ายการเล่นอิสระ ( Smart Play Network) สก๊อตแลนด์ได้ให้ข้อสังเกตถึงบทบาทของผู้ใหญ่ในสิ่งแวดล้อมการเล่นลูสพาร์ท ไว้ว่า. “การเล่นกลางแจ้ง ส่งผลดีต่อร่างกายและอารมณ์ จิตใจของทั้งครูและเด็ก เราสังเกตพบว่าการเล่นแบบอิสระช่วยให้ครูได้มองเห็นเด็กๆในแง่มุมที่ไม่เคยเห็นและทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนแน่นแฟ้นขึ้น ครูต้องมีกรอบวิธีคิดของการเป็น ผู้ดูแลการเล่น พวกเขาจะต้องเรียนรู้ที่จะก้าวถอยออกมาห่างๆและเข้าไปแทรกแซงก็ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น ต้องรู้จักสังเกตและรู้ว่าควรปฏิสัมพันธ์อย่างไรต่อพฤติกรรมหรือแจงจูงใจของเด็กในระหว่างเล่น รู้วิธีการที่จะสร้างความท้าทายและการมีส่วนร่วมของเด็กกับพื้นที่เล่นนั้น”. สำหรับผู้ใหญ่ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเล่นลูสพาร์ท ต้องมีความละเอียดอ่อนและต้องตระหนักถึงกระบวนการเล่นของเด็ก ให้อิสระ ไม่เร่งเร้า หรือก้าวเข้าไปแทรกแซงบ่อยๆ...

4 พฤติกรรมการเล่นของเด็กบอกอะไรเราบ้าง

เด็กแต่ละคนจะมีวิธีเล่น โดยพัฒนามาจากขั้นตอนการเล่น ซึ่งเรียกว่า “พฤติกรรมการเล่น” การเล่นอาจเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและความพร้อมของเด็ก ซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมการเล่นของเด็กได้ 4 แบบ เล่นสำรวจ เด็กกำลังฝึกใช้ประสาทสัมผัส เล่นลอกเลียนแบบ เด็กๆกำลังเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เล่นทดสอบ เด็กกำลังฝึกใช้เหตุผล เล่นสร้าง เด็กกำลังโชว์ความถนัด...

“Play Worker” ผู้อำนวยการเล่น เล่นได้

Play Worker หรือ ผู้อำนวยการเล่น คือ ผู้สนุบสนุนการเล่นของเด็ก โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง อำนวยการให้เกิดความสุข สนุก ปลอดภัย ………… โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้ #30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข #พากันเล่น(กับใคร) #เล่นเปลี่ยนโลก #เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก #letsplaymore...

ทำไม “การเล่น” ถึงเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้ดีที่สุด?

ตั้งเเต่ลูกลืมตาดูโลก คนเเรกที่ลูกเห็นคือ “พ่อแม่” หรือแม้กระทั่งคนแรกที่ลูกได้เล่น ได้หัวเราะ ได้ร้องไห้ และอยู่กับลูกตลอดเวลาเมื่อลูกต้องการก็คือ “พ่อแม่” นั่นเอง ดังนั้นจึงไม่เเปลกที่ “การเล่น” เป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้เป็นอย่างดี และทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านทักษะ สุขภาวะ (Well-being) ที่สมบูรณ์ รวมถึงทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพราะเขาจะรู้สึกปลอดภัยเวลาเล่นร่วมกันกับพ่อแม่ . ล่าสุดทาง Lego Foundation ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ...

การเล่นร่วมกันระหว่าง “เด็กเล็กและเด็กโต (Mixed-Age Play)” ส่งผลดีต่อพัฒนาการมากกว่าการเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน

Peter Gray นักวิจัยและอาจารย์สาขาจิตวิทยาแห่ง Boston College ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “Free to Learn” ว่า “การที่เราให้เด็กวัยเดียวกันมาเล่นด้วยกันถือเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติของเด็ก”.ในอดีตการเล่นร่วมกันระหว่างเด็กเล็กและเด็กโตถือเป็นเรื่องปกติ เพราะธรรมชาติของเด็กคือการเล่นที่ไม่เเบ่งเเยกชนชั้น สังคม รวมถึงอายุ เด็กเพียงเเค่ต้องการเคลื่อนไหวร่างกาย และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ เท่านั้น จนกระทั่งยุคอุตสาหกรรมที่เด็กต้องเข้าเรียนในโรงเรียนจึงมีการแบ่งระดับชั้น (เช่น ระดับประถม มัธยม ฯลฯ เหมือนในปัจจุบัน) ทำให้สังคมการเล่นของเด็กเปลี่ยนจากการเรียตามธรรมชาติไม่เเบ่งอายุเป็นการเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน ระดับชั้นเดียวกันนั่นเอง.จากงานวิจัยด้านจิตวิทยาและพัฒนาการพบว่าประโยชน์ของการเล่นร่วมกันของเด็กที่มีวัยต่างกันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มากและมีประสิทธิภาพกว่าการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน...

ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกอย่างน้อย “30 นาที” ต่อวัน?

“ทำไมลูกเรา Active มาก เล่นไม่มีหมดจริง ๆ” “เราควรให้ลูกเล่นเท่าไหร่ถึงจะพอ?”.ประโยคเหล่านี้เป็นน่าจะสิ่งที่คุณพ่อคุณเม่หลายท่านสงสัยและเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้วการเล่นจำเป็นต่อลูกของเราจริง ๆ หรือ? เเล้วเราควรจะเริ่มสนับสนุนการเล่นลูกอย่างไรดี?.ก่อนอื่นอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านเข้าใจว่า การเล่นไม่ใช่เรื่องพิเศษหรือเป็นสิ่งที่มาเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เเต่ “การเล่น” คือ “ธรรมชาติ” ของเด็ก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลาในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น หลักสูตรการเรียนการสอน การเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ พื้นที่เล่นที่จำกัด และความปลอดภัยในระหว่างเล่นของเด็ก ทำให้เวลาที่เด็กได้เล่นน้อยลง...

คู่มือส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงวิกฤต

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าและการรับมือของภาครัฐส่งผลกระทบอย่างมากกับเด็กๆ ทั่วโลก ข้อมูลจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้ระบุไว้ว่า สิทธิในการเล่นคือหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของเด็กการส่งเสริมสิทธิในการเล่นของเด็กมีความสําคัญมากในช่วงเวลานี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงพัฒนาคู่มือที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็กๆ ได้นําไปใช้ส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงเวลาวิกฤต 1.ความสําคัญของการเล่นในช่วงวิกฤต การเล่นนันช่วยให้เด็กๆ มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง และเป็นส่วนหนึงในชีวิตประจําวันของการมีวัยเด็กที่มีความสุข แม้ในวิกฤตการณ์เช่นการระบาดของโคโรนาไวรัสทีเรากําลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ การเล่นก็ยังคงมีบทบาทสําคัญ ที่คอยช่วยให้เด็กๆ จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้และช่วยพยุงความรู้สึกของพวกเขาว่าทุกอย่างเป็นปกติได้ 2.การส่งเสริมการเล่นของเด็กๆในช่วงวิกฤต เด็กๆ เล่นอยู่แล้วตามธรรมชาติ สิ่งสําคัญที่สุดที่เราสามารถส่งเสริมพวกเขาได้ก็คือ จัดให้มีพื้นที่และเวลาสําหรับเล่นได้ทุกวันและมีทัศนคติทีเปิดกว้างพร้อมที่จะเข้าใจ เพราะเมื่อเวลาที่เด็กๆ เห็นเรามีความสุขตอนเขาเล่น ความสนุกในการเล่นก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ตัวอย่างของวิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็ก โดยไม่ชี้นําหรือแทรกแซง...